วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

แฟรนด์เสน (Frandsen) (1957: 34) กล่าวว่า ทฤษฎีต่างๆเป็นผลรวมของของข้อเท็จจริงที่ค้นพบแล้ว ย่อมเป็นแนวความคิดสำหรับอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ร่วมกัน


ฮิลล์ (Hill) (1963: 22-24) กล่าวว่า ทฤษฎี คือ คำอธิบายที่ได้จัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบแบบแผนแล้ว (A theory is a systematic interpretion of an area of knowledge) ทฤษฎีจะช่วยอธิบายวิธีการเรียนรู้ของบุคคลช่วยให้เกิดความเข้าใจและนำไปใช้ในการควบคุม ทำนาย การเรียนรู้ให้ได้ผลดีขึ้น และจะช่วยอธิบายหรือเป็นเสมือนสิ่งที่ช่วยชักนำไปสู่คำตอบให้กับคำถามสำคัญๆได้มาก ในกรณีที่ยังขาดความรู้ที่แน่นอนชัดเจนในสิ่งหนึ่งๆที่ต้องการจะรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นกุญแจช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอนเข้าใจผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้

กันยา สุวรรณแสง (2532: 173) ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการ และเงื่อนไขที่จะทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นมา และกล่าวถึงสภาพของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ของคนเรา

Robert C. Craig (1967: 21 - 82) แบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

1. กลุ่มทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories) 1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง 1.2 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข

2. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้โดยความคิดความเข้าใจ (Cognitive Theories)

สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ร่วมกัน ที่ช่วยชักนำไปสู่คำตอบให้กับคำถามสำคัญๆได้มาก และจะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ของคนเรา

บรรณานุกรม


Arden N. Fransen,How Children Learn : An Educational Psychology ( New York : McGraw-Hill Book Company Inc.,1957) p.34

Winfre F. Hill, Learning: A Servey of Psychological Interpretation (Californiae: Chandler Publishing Company Inc., 1963) pp.22-24

Robert C. Craig, The Psychology of Learning in the Classroom (N.Y.: The Macmillan Co., 1967) pp.21-82

กันยา สุวรรณแสง. จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักพิมพ์: สำนักพิมพ์บำรุงสาสน์, 2532.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น