บุญเกื้อ ควรหาเวช (2519: 1) กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิด หรือ การกระทำ รวมทั้ง สิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่ง
สุภากร ราชากรกิจ (2537: 59) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมการศึกษาไว้ว่า ทางด้านการศึกษามีการคิดค้น และทดลองหาวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น
htt://www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.doc นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด หรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
htt://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
(วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm) "นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น
สรุป นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
บุญเกื้อ ควรหาเวช. นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
สุภากร ราชากรกิจ (2537: 59)
htt://www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.doc
htt://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm
วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm
สาโรจน์ โศภีรักข์. นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ:บุ๊คพอยท์, 2546
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
กิดานันท์ มลิทอง (2543:285) ได้กล่าวถึงรูปแบบของ สื่อหลายมิติว่า สื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้สื่อการสอนในลักษณะประสม เพื่อสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็ว สื่อหลายมิติในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
- การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAI)
- แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ
- การสอนบนเว็บ (Web-based Instruction)
- ความเป็นจริงเสมือน
- ปัญญาประดิษฐ์ และระบบผู้เชี่ยวชาญ
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2542: 53) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา (2542:53) กล่าวว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
สรุป รูปแบบของสื่อหลามิติในการเรียนการสอน ประกอบด้วย การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAI) แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ การสอนบนเว็บ (Web-based Instruction) ความเป็นจริงเสมือนปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ
บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2542 : 53)
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542: 54)
- การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAI)
- แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ
- การสอนบนเว็บ (Web-based Instruction)
- ความเป็นจริงเสมือน
- ปัญญาประดิษฐ์ และระบบผู้เชี่ยวชาญ
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2542: 53) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา (2542:53) กล่าวว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
สรุป รูปแบบของสื่อหลามิติในการเรียนการสอน ประกอบด้วย การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAI) แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ การสอนบนเว็บ (Web-based Instruction) ความเป็นจริงเสมือนปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ
บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2542 : 53)
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542: 54)
สื่อประสม คืออะไร
กิดานันท์ มลิทอง (2543: 267) สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
Ely (1963 อ้างถึงใน Heinich, and Others, 1999) สื่อประสมได้สะท้อนถึงวิธีทางที่เรียกว่า “วิธีการสื่อประสม” หรือ “วิธีการใช้สื่อข้ามกัน” โดยขึ้นอยู่กับหลักการซึ่งนำสื่อโสตทัศน์และประสบการหลากหลายมาใช้ร่วมกับสื่อการสอนอื่นๆ เพื่อซ้อนเสริมค่าซึ่งกันและกัน
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542: 54) สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลายๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อเสริมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน
สรุป สื่อประสม คือ การนำสื่อหลายๆ อย่างมาใช้ร่วมกัน เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน
บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
Ely (1963 อ้างถึงใน Heinich, and Others, 1999)
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542: 54)
Ely (1963 อ้างถึงใน Heinich, and Others, 1999) สื่อประสมได้สะท้อนถึงวิธีทางที่เรียกว่า “วิธีการสื่อประสม” หรือ “วิธีการใช้สื่อข้ามกัน” โดยขึ้นอยู่กับหลักการซึ่งนำสื่อโสตทัศน์และประสบการหลากหลายมาใช้ร่วมกับสื่อการสอนอื่นๆ เพื่อซ้อนเสริมค่าซึ่งกันและกัน
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542: 54) สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลายๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อเสริมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน
สรุป สื่อประสม คือ การนำสื่อหลายๆ อย่างมาใช้ร่วมกัน เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน
บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
Ely (1963 อ้างถึงใน Heinich, and Others, 1999)
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542: 54)
สื่อการสอน คืออะไร
กิดานันท์ มลิทอง (2543: 79) สื่อการสอน หมายถึง สื่อชนิดใดๆ ก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง วิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งใช้บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน ใช้เป็นสิ่งที่ส่งช่องทางสำหรับส่งให้การสอนผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างดี
รัฐกรณ์ คิดการ (2543: 40) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่จะช่วยถ่ายทอดและนำข้อมูลความรู้ไปสู่ผู้เรียน ช่วยอธิบาขยายความให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายจนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
เปรื่อง กุมุท (2519: 1) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างดี
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526: 4) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529: 112) ให้ความหมายของสื่อการสอนว่า คือวัสดุ (สิ้นเปลือง) อุปกรณ์ ( เครื่องมือที่ใช้ไม่ผุพังง่าย) วิธีการ (กิจกรรม เกม การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บราวน์ และคณะ (1964: 584) กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้มีความหมายรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น
สรุป สื่อการสอน คือ สิ่งที่ช่วยในการนำข้อมูล ความรู้ไปสู่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้
บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
วาสนา ชาวหา. สื่อการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โซเดียมสโตร์, 2533
รัฐกรณ์ คิดการ (2543: 40)
เปรื่อง กุมุท (2519: 1)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526: 4)
Brown and other. (1964: 584)
ชาญชัย ยมดิษฐ์. เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : หลักการพิมพ์, 2548
รัฐกรณ์ คิดการ (2543: 40) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่จะช่วยถ่ายทอดและนำข้อมูลความรู้ไปสู่ผู้เรียน ช่วยอธิบาขยายความให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายจนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
เปรื่อง กุมุท (2519: 1) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างดี
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526: 4) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529: 112) ให้ความหมายของสื่อการสอนว่า คือวัสดุ (สิ้นเปลือง) อุปกรณ์ ( เครื่องมือที่ใช้ไม่ผุพังง่าย) วิธีการ (กิจกรรม เกม การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บราวน์ และคณะ (1964: 584) กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้มีความหมายรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น
สรุป สื่อการสอน คือ สิ่งที่ช่วยในการนำข้อมูล ความรู้ไปสู่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้
บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
วาสนา ชาวหา. สื่อการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โซเดียมสโตร์, 2533
รัฐกรณ์ คิดการ (2543: 40)
เปรื่อง กุมุท (2519: 1)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526: 4)
Brown and other. (1964: 584)
ชาญชัย ยมดิษฐ์. เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : หลักการพิมพ์, 2548
เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
http://support.mof.go.th/net/techno.htm เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา ประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบมัลติมีเดีย ระบบVideo on Demand วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะสื่อหลายมิติบรรจุลงแผ่นซีดี ดีวีดี หรือนำเสนอบนเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต
- การใช้เครื่อง visualizer เพื่อเสนอเนื้อหาบทเรียนจากสิ่งพิมพ์ และแผ่นโปร่งใส แทนการใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ทั้งยังสามารถใช้เป็นกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวภายในห้องเรียนได้ด้วย
- การใช้เครื่องแอลซีดี ( LCD ) ถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ขึ้นจอภาพขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถเห็นได้อย่างทั่วถึงภายในห้อง
- อินเทอร์เน็ต เพื่อการศึกษาในลักษณะการสอนบนเว็บ การสืบค้นข้อมูล ฯลฯ
- การเรียนในลักษณะ E - learning แบบประสานเวลาและไม่ประสานเวลา
- ความเป็นจริงเสมือน เพื่อการศึกษาในการสำรวจ การสร้างและใช้มโนทัศน์ด้านนามธรรม เช่น การจัดแปลนห้องในด้านสถาปัตยกรรม ฯลฯ
สรุป เทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา ประกอบด้วย 1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ 2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา 3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล
บรรณานุกรม
http://support.mof.go.th/net/techno.htm
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบมัลติมีเดีย ระบบVideo on Demand วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะสื่อหลายมิติบรรจุลงแผ่นซีดี ดีวีดี หรือนำเสนอบนเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต
- การใช้เครื่อง visualizer เพื่อเสนอเนื้อหาบทเรียนจากสิ่งพิมพ์ และแผ่นโปร่งใส แทนการใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ทั้งยังสามารถใช้เป็นกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวภายในห้องเรียนได้ด้วย
- การใช้เครื่องแอลซีดี ( LCD ) ถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ขึ้นจอภาพขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถเห็นได้อย่างทั่วถึงภายในห้อง
- อินเทอร์เน็ต เพื่อการศึกษาในลักษณะการสอนบนเว็บ การสืบค้นข้อมูล ฯลฯ
- การเรียนในลักษณะ E - learning แบบประสานเวลาและไม่ประสานเวลา
- ความเป็นจริงเสมือน เพื่อการศึกษาในการสำรวจ การสร้างและใช้มโนทัศน์ด้านนามธรรม เช่น การจัดแปลนห้องในด้านสถาปัตยกรรม ฯลฯ
สรุป เทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา ประกอบด้วย 1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ 2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา 3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล
บรรณานุกรม
http://support.mof.go.th/net/techno.htm
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร
วาสนา สุขกระสานติ (2541: 6-1) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศตามที่ต้องการ
ลูคัส (Lucus, Jr.) (1997: 7) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศจะอ้างถึงเทคโนโลยีทุกชนิดที่ประยุกต์เพื่อใช้ในการประมวลผล จัดเก็บและส่งผ่านสารนิเทศต่างๆ ให้อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
รจนา ระจินดา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=basbasic&month=10-2007&date=05&group=4&gblog=1 เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสนเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ และการส่งผ่านสารนิเทศต่างๆ ให้อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
บรรณานุกรม
วาสนา สุขกระสานติ (2541: 6-1)
Lucus, Jr. (1997: 7)
รจนา ระจินดา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=basbasic&month=10- 2007&date=05&group=4&gblog=1
ลูคัส (Lucus, Jr.) (1997: 7) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศจะอ้างถึงเทคโนโลยีทุกชนิดที่ประยุกต์เพื่อใช้ในการประมวลผล จัดเก็บและส่งผ่านสารนิเทศต่างๆ ให้อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
รจนา ระจินดา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=basbasic&month=10-2007&date=05&group=4&gblog=1 เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสนเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ และการส่งผ่านสารนิเทศต่างๆ ให้อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
บรรณานุกรม
วาสนา สุขกระสานติ (2541: 6-1)
Lucus, Jr. (1997: 7)
รจนา ระจินดา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=basbasic&month=10- 2007&date=05&group=4&gblog=1
เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน (2539: 406) เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
http://support.mof.go.th/net/techno.htm เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
วิลเลี่ยม ดี แฮลเซย์ ( William D. Halsey) ให้ความหมายเทคโนโลยีไว้ 3 ความหมาย คือ
1. การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้เพื่อให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่วางไว้
2. ระเบียบวิธีการ ขบวนการ และสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นผลจากการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
3. การใช้วัสดุ หรือวัตถุมาบริการความต้องการของสังคม
เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยีไว้ในหนังสือ Audio Visucl Method in Teaching ว่าเทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการ วิธีการทำงานอย่างมีระบบที่ให้บรรลุตามแผนการ
สรุป เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอากระบวนการ วิธีการและแนวความคิดใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานด้านต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
บรรณานุกรม
พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน (2539: 406)
http://support.mof.go.th/net/techno.htm
William D. Halsey (ไม่ระบุ)
Edgar Dale. Audio Visucl Method in Teaching.
http://support.mof.go.th/net/techno.htm เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
วิลเลี่ยม ดี แฮลเซย์ ( William D. Halsey) ให้ความหมายเทคโนโลยีไว้ 3 ความหมาย คือ
1. การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้เพื่อให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่วางไว้
2. ระเบียบวิธีการ ขบวนการ และสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นผลจากการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
3. การใช้วัสดุ หรือวัตถุมาบริการความต้องการของสังคม
เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยีไว้ในหนังสือ Audio Visucl Method in Teaching ว่าเทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการ วิธีการทำงานอย่างมีระบบที่ให้บรรลุตามแผนการ
สรุป เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอากระบวนการ วิธีการและแนวความคิดใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานด้านต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
บรรณานุกรม
พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน (2539: 406)
http://support.mof.go.th/net/techno.htm
William D. Halsey (ไม่ระบุ)
Edgar Dale. Audio Visucl Method in Teaching.
นวัตกรรม คืออะไร
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542: 12) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
สุภากร ราชากรกิจ (2542: 12) ได้กล่าวถึง นวัตกรรม ว่าเป็นการปฏิบัติหรือกรรมวิธีที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้ หรือการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่างๆ ให้ดีกว่าเดิม
ทอมัส ฮิวช์ (boonpan edt01.htm) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
มอร์ตัน (boonpan edt01.htm) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา
http://www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.doc นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
สรุป นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือมีอยู่ก่อนแล้วนำมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
บรรณานุกรม
บุญเกื้อ ควรหาเวช.นวัตกรรมการศึกษา กรุงเทพมหานคร : หจก.S.R. Printing. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ปรับปรุงใหม่) ,2542.
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14)
สุภากร ราชากรกิจ (2542: 12)
ทอมัส ฮิวช์ (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (boonpan edt01.htm)
http://www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.doc
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542: 12) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
สุภากร ราชากรกิจ (2542: 12) ได้กล่าวถึง นวัตกรรม ว่าเป็นการปฏิบัติหรือกรรมวิธีที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้ หรือการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่างๆ ให้ดีกว่าเดิม
ทอมัส ฮิวช์ (boonpan edt01.htm) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
มอร์ตัน (boonpan edt01.htm) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา
http://www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.doc นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
สรุป นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือมีอยู่ก่อนแล้วนำมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
บรรณานุกรม
บุญเกื้อ ควรหาเวช.นวัตกรรมการศึกษา กรุงเทพมหานคร : หจก.S.R. Printing. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ปรับปรุงใหม่) ,2542.
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14)
สุภากร ราชากรกิจ (2542: 12)
ทอมัส ฮิวช์ (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (boonpan edt01.htm)
http://www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.doc
มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร
กันยา สุวรรณแสง (2532: 173) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการ และเงื่อนไขที่จะทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นมา และกล่าวถึงสภาพของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ของคนเรา
Robert C. Craig (1967: 21 - 82) กล่าวถึง ทฤษฎีการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1. กลุ่มทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
2. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ความเข้าใจ
มาลินี จุฑะรพ (2539: 81) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มทฤษฎีเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
2. กลุ่มทฤษฎีการวางเงื่อนไข
3. กลุ่มทฤษฎีสนาม
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง
Edward Lee Thorndike นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า การเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยสิ่งเร้าสิ่งหนึ่ง อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองได้หลายทาง แต่อินทรีย์จะเลือกตอบสนองที่พอใจที่สุดไว้เพียงหนึ่งเดียว เพื่อใช้ในการตอบสนองครั้งต่อๆไป หรืออาจกล่าวได้ว่าการเรียนรู้เกิดจากการลองถูกลองผิด (Trial and Error)
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของกัทธรี
E.R. Guthrie นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ คือ มีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่เข้าคู่กันได้ในลักษณะที่มีการกระทำหรือสัมผัสไม่น้อยกว่าครั้งหนึ่ง (One-Trial Learning) ก็เกิดการเรียนรู้ได้”
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของฮัลล์
Clark L. Hull นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “การเรียนรู้เกิดจากการเสริมแรง การเสริมแรงเป็นการให้รางวัล เพื่อก่อให้เกิดการลดแรงขับหรือลดความต้องการลง ทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ขึ้น”
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
Ivan P Pavlov นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย เป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “การเรียนรู้เกิดจาก
การที่อินทรีย์ได้รับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้หลายๆชนิด โดยที่การตอบสนองอย่างเดียวกัน อาจมาจากสิ่งเร้าต่างชนิดกันได้ หากมีการวางเงื่อนไขที่แน่นแฟ้นเพียงพอ”
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
Burrhus F. skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้มีการกระทำแล้วได้รับการเสริมแรง
ทฤษฎีสนาม
Wolfgang Kohler, Max Wertheimer, Kurt Koffka นักจิตวิทยาชาวเยอรมันนีเป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “ในการเรียนรู้หรือในการแก้ปัญหาบุคคลจะพิจารณาสิ่งเร้าหรือโครงสร้างของปัญหาโดยส่วนรวมทุกแง่ทุกมุมเสียก่อน จากนั้นจะแยกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยๆ เหล่านั้น จนในที่สุดจะเกิดความคิดหรือเห็นช่องทางในการแก้ปัญหานั้นได้โดยฉับพลัน จะเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง หรือเกิดการหยั่งเห็นหรือที่เรียนว่า พิปัสญาณ (Insigh)”
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเลวิน
Kurt Lewin, 1947 นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “การเรียนรู้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความรู้ ความเข้าใจเดิมหรือเกิดจากการกระทำซ้ำๆ หรือได้มีการแก้ปัญหา หรือมีการเปลี่ยนการจูงใจ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง”
ทฤษฎีการเรียนรู้ของทอลแมน
Edward C. Tolman, 1959 นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์เป็นแนวทางนำไปสู่เป้าหมาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ”
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้มีหลายทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง ทฤษฎีการเชื่อมโยงของกัทธรี ทฤษฎีการเชื่อมโยงของฮัลล์ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ทฤษฎีสนาม ทฤษฎีการเรียนรู้ของเลวิน ทฤษฎีการเรียนรู้ของทอลแมน
บรรณานุกรม
กันยา สุวรรณแสง.จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2532.
Robert C. Craig, The Psychology of Learning in the Classroom ( N.Y. : The Macmillan Co., 1967)
มาลินี จุฑะรพ. จิตวิทยาการเรียนการสอน กรุงเทพฯ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว สถาบันราชภัฏ สวนสุนันทา, 2539
Robert C. Craig (1967: 21 - 82) กล่าวถึง ทฤษฎีการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1. กลุ่มทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
2. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ความเข้าใจ
มาลินี จุฑะรพ (2539: 81) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มทฤษฎีเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
2. กลุ่มทฤษฎีการวางเงื่อนไข
3. กลุ่มทฤษฎีสนาม
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง
Edward Lee Thorndike นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า การเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยสิ่งเร้าสิ่งหนึ่ง อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองได้หลายทาง แต่อินทรีย์จะเลือกตอบสนองที่พอใจที่สุดไว้เพียงหนึ่งเดียว เพื่อใช้ในการตอบสนองครั้งต่อๆไป หรืออาจกล่าวได้ว่าการเรียนรู้เกิดจากการลองถูกลองผิด (Trial and Error)
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของกัทธรี
E.R. Guthrie นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ คือ มีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่เข้าคู่กันได้ในลักษณะที่มีการกระทำหรือสัมผัสไม่น้อยกว่าครั้งหนึ่ง (One-Trial Learning) ก็เกิดการเรียนรู้ได้”
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของฮัลล์
Clark L. Hull นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “การเรียนรู้เกิดจากการเสริมแรง การเสริมแรงเป็นการให้รางวัล เพื่อก่อให้เกิดการลดแรงขับหรือลดความต้องการลง ทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ขึ้น”
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
Ivan P Pavlov นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย เป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “การเรียนรู้เกิดจาก
การที่อินทรีย์ได้รับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้หลายๆชนิด โดยที่การตอบสนองอย่างเดียวกัน อาจมาจากสิ่งเร้าต่างชนิดกันได้ หากมีการวางเงื่อนไขที่แน่นแฟ้นเพียงพอ”
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
Burrhus F. skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้มีการกระทำแล้วได้รับการเสริมแรง
ทฤษฎีสนาม
Wolfgang Kohler, Max Wertheimer, Kurt Koffka นักจิตวิทยาชาวเยอรมันนีเป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “ในการเรียนรู้หรือในการแก้ปัญหาบุคคลจะพิจารณาสิ่งเร้าหรือโครงสร้างของปัญหาโดยส่วนรวมทุกแง่ทุกมุมเสียก่อน จากนั้นจะแยกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยๆ เหล่านั้น จนในที่สุดจะเกิดความคิดหรือเห็นช่องทางในการแก้ปัญหานั้นได้โดยฉับพลัน จะเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง หรือเกิดการหยั่งเห็นหรือที่เรียนว่า พิปัสญาณ (Insigh)”
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเลวิน
Kurt Lewin, 1947 นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “การเรียนรู้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความรู้ ความเข้าใจเดิมหรือเกิดจากการกระทำซ้ำๆ หรือได้มีการแก้ปัญหา หรือมีการเปลี่ยนการจูงใจ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง”
ทฤษฎีการเรียนรู้ของทอลแมน
Edward C. Tolman, 1959 นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้ตั้งทฤษฎีนี้ ซึ่งมีหลักการว่า “การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์เป็นแนวทางนำไปสู่เป้าหมาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ”
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้มีหลายทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง ทฤษฎีการเชื่อมโยงของกัทธรี ทฤษฎีการเชื่อมโยงของฮัลล์ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ทฤษฎีสนาม ทฤษฎีการเรียนรู้ของเลวิน ทฤษฎีการเรียนรู้ของทอลแมน
บรรณานุกรม
กันยา สุวรรณแสง.จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2532.
Robert C. Craig, The Psychology of Learning in the Classroom ( N.Y. : The Macmillan Co., 1967)
มาลินี จุฑะรพ. จิตวิทยาการเรียนการสอน กรุงเทพฯ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว สถาบันราชภัฏ สวนสุนันทา, 2539
ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร
แฟรนด์เสน (Frandsen) (1957: 34) กล่าวว่า ทฤษฎีต่างๆเป็นผลรวมของของข้อเท็จจริงที่ค้นพบแล้ว ย่อมเป็นแนวความคิดสำหรับอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ร่วมกัน
ฮิลล์ (Hill) (1963: 22-24) กล่าวว่า ทฤษฎี คือ คำอธิบายที่ได้จัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบแบบแผนแล้ว (A theory is a systematic interpretion of an area of knowledge) ทฤษฎีจะช่วยอธิบายวิธีการเรียนรู้ของบุคคลช่วยให้เกิดความเข้าใจและนำไปใช้ในการควบคุม ทำนาย การเรียนรู้ให้ได้ผลดีขึ้น และจะช่วยอธิบายหรือเป็นเสมือนสิ่งที่ช่วยชักนำไปสู่คำตอบให้กับคำถามสำคัญๆได้มาก ในกรณีที่ยังขาดความรู้ที่แน่นอนชัดเจนในสิ่งหนึ่งๆที่ต้องการจะรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นกุญแจช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอนเข้าใจผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้
กันยา สุวรรณแสง (2532: 173) ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการ และเงื่อนไขที่จะทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นมา และกล่าวถึงสภาพของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ของคนเรา
Robert C. Craig (1967: 21 - 82) แบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1. กลุ่มทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories) 1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง 1.2 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
2. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้โดยความคิดความเข้าใจ (Cognitive Theories)
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ร่วมกัน ที่ช่วยชักนำไปสู่คำตอบให้กับคำถามสำคัญๆได้มาก และจะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ของคนเรา
บรรณานุกรม
Arden N. Fransen,How Children Learn : An Educational Psychology ( New York : McGraw-Hill Book Company Inc.,1957) p.34
Winfre F. Hill, Learning: A Servey of Psychological Interpretation (Californiae: Chandler Publishing Company Inc., 1963) pp.22-24
Robert C. Craig, The Psychology of Learning in the Classroom (N.Y.: The Macmillan Co., 1967) pp.21-82
กันยา สุวรรณแสง. จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักพิมพ์: สำนักพิมพ์บำรุงสาสน์, 2532.
ฮิลล์ (Hill) (1963: 22-24) กล่าวว่า ทฤษฎี คือ คำอธิบายที่ได้จัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบแบบแผนแล้ว (A theory is a systematic interpretion of an area of knowledge) ทฤษฎีจะช่วยอธิบายวิธีการเรียนรู้ของบุคคลช่วยให้เกิดความเข้าใจและนำไปใช้ในการควบคุม ทำนาย การเรียนรู้ให้ได้ผลดีขึ้น และจะช่วยอธิบายหรือเป็นเสมือนสิ่งที่ช่วยชักนำไปสู่คำตอบให้กับคำถามสำคัญๆได้มาก ในกรณีที่ยังขาดความรู้ที่แน่นอนชัดเจนในสิ่งหนึ่งๆที่ต้องการจะรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นกุญแจช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอนเข้าใจผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้
กันยา สุวรรณแสง (2532: 173) ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการ และเงื่อนไขที่จะทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นมา และกล่าวถึงสภาพของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ของคนเรา
Robert C. Craig (1967: 21 - 82) แบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1. กลุ่มทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories) 1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง 1.2 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
2. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้โดยความคิดความเข้าใจ (Cognitive Theories)
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ร่วมกัน ที่ช่วยชักนำไปสู่คำตอบให้กับคำถามสำคัญๆได้มาก และจะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ของคนเรา
บรรณานุกรม
Arden N. Fransen,How Children Learn : An Educational Psychology ( New York : McGraw-Hill Book Company Inc.,1957) p.34
Winfre F. Hill, Learning: A Servey of Psychological Interpretation (Californiae: Chandler Publishing Company Inc., 1963) pp.22-24
Robert C. Craig, The Psychology of Learning in the Classroom (N.Y.: The Macmillan Co., 1967) pp.21-82
กันยา สุวรรณแสง. จิตวิทยาทั่วไป กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักพิมพ์: สำนักพิมพ์บำรุงสาสน์, 2532.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)